วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบอบเผด็จการนาซี



ระบอบเผด็จการนาซี (Nazi Dictatorship)


ระบอบเผด็จการทหาร หรือ ระบอบเผด็จการนาซี หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง
โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักอ้างว่าจะใช้อำนาจปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว แต่หลังจากนั้นมักไม่ยอมคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมกับแรงกดดันนานาชาติก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองดังกล่าวไว้ไม่ได้ ในที่สุดจึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย เกิดการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหารจนนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายของทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงด้วยชัยชนะชองฝ่ายประชาชนเสมอ


ประเทศที่มีการปกครองระบอบเผด็จการทหาร เช่น สหภาพพม่า ซึ่งมีสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ( The State Peace and Development Council : SPDC) ที่มาจากคณะนายทหารทำหน้าที่บริหารประเทศ เป็นต้น

ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์

  
ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist Dictatorship)


ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำว่ามีอำนาจเหนือประชาชนทั่วไป ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีความเชื่อในลัทธิการเมืองที่เรียกว่า “ลัทธิฟาสซิสต์” เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว


ตัวอย่าง เช่น การปกครองของอิตาลิในสมัยเบนิโตมุสโสลินี ( Benito Mussolini ) ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2465-2481 การปกครองของเยอรมนี สมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2488 ในระบอบนาซี(Nazi Regin) ซึ่งถือว่าเป็นระบอบฟาสซิสต์ เช่นเดียวกัน

ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์



ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ (Communist Dictator)


ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่มีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ
ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาสมกับประเทศของตนและจะช่วยทำให้ชนชั้นกรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศคนยากจนไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับนายทุน โดยประเทศที่มีการปกครองระบอบนี้ เช่น สหภาพโซเวียตในอดีต เป็นต้น



                ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารในบางประการ เช่น ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมแลการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ว่า “ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ”
 

ระบอบเผด็จการ


ระบอบเผด็จการ (Dictatorship)



การเมืองการปกครองระบอบเผด็จการมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจในทางการเมืองการ
ปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว คณะเดียว หรือพวกเดียว โดยบุคคล คณะบุคคล หรือดังกล่าวสารถใช้อำนาจนั้นควบคุมบังคับประชาชนได้โดยเด็ดขาด หากประชาชนคนใดคัดค้านผู้นำหรือคณะผู้นำ ก็จะถูกลงโทษด้วยมาตรการต่างๆ
หลักการของระบอบเผด็จการ
1.ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองและสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องฟังเสียงของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2.การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถจะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3.ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้
4.รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตยกล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่รากฐานอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น



การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกันรัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5-10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไปตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร