วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบอบเผด็จการนาซี



ระบอบเผด็จการนาซี (Nazi Dictatorship)


ระบอบเผด็จการทหาร หรือ ระบอบเผด็จการนาซี หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง
โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักอ้างว่าจะใช้อำนาจปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว แต่หลังจากนั้นมักไม่ยอมคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมกับแรงกดดันนานาชาติก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองดังกล่าวไว้ไม่ได้ ในที่สุดจึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย เกิดการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหารจนนำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายของทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงด้วยชัยชนะชองฝ่ายประชาชนเสมอ


ประเทศที่มีการปกครองระบอบเผด็จการทหาร เช่น สหภาพพม่า ซึ่งมีสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ( The State Peace and Development Council : SPDC) ที่มาจากคณะนายทหารทำหน้าที่บริหารประเทศ เป็นต้น

ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์

  
ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist Dictatorship)


ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำว่ามีอำนาจเหนือประชาชนทั่วไป ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีความเชื่อในลัทธิการเมืองที่เรียกว่า “ลัทธิฟาสซิสต์” เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว


ตัวอย่าง เช่น การปกครองของอิตาลิในสมัยเบนิโตมุสโสลินี ( Benito Mussolini ) ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2465-2481 การปกครองของเยอรมนี สมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2488 ในระบอบนาซี(Nazi Regin) ซึ่งถือว่าเป็นระบอบฟาสซิสต์ เช่นเดียวกัน

ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์



ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ (Communist Dictator)


ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่มีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ
ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาสมกับประเทศของตนและจะช่วยทำให้ชนชั้นกรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศคนยากจนไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับนายทุน โดยประเทศที่มีการปกครองระบอบนี้ เช่น สหภาพโซเวียตในอดีต เป็นต้น



                ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารในบางประการ เช่น ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมแลการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ว่า “ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ”
 

ระบอบเผด็จการ


ระบอบเผด็จการ (Dictatorship)



การเมืองการปกครองระบอบเผด็จการมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจในทางการเมืองการ
ปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว คณะเดียว หรือพวกเดียว โดยบุคคล คณะบุคคล หรือดังกล่าวสารถใช้อำนาจนั้นควบคุมบังคับประชาชนได้โดยเด็ดขาด หากประชาชนคนใดคัดค้านผู้นำหรือคณะผู้นำ ก็จะถูกลงโทษด้วยมาตรการต่างๆ
หลักการของระบอบเผด็จการ
1.ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองและสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องฟังเสียงของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2.การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถจะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3.ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้
4.รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตยกล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่รากฐานอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น



การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกันรัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5-10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไปตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร




วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบอบประชาธิปไตย (Democracy system)



ระบอบประชาธิปไตย (Democracy system)





การที่จะพิจารณาว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่จึงต้องดูว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่ ระบอบประชาธิปไตย ระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ ดังนั้นการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยก็คือรูปการปกครองที่ยึดถืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ลักษณะของรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย คือ “ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ” ซึ่งเป็นวาทะของอับราฮัม ลินคอลน์ ( Abraham Lincoln) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ




การที่รัฐบาลใดจะได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีลักษณะครบทั้ง 3 ประการ คือ
- รัฐบาลของประชาชน หมายถึง รัฐบาลจะต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้ด้วยการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นั่นคือ ประชาชนอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐบาลซึ่งบ่งชี้ถึงมิติของการปกครองในด้านความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย- รัฐบาลโดยประชาชน หมายถึง ประชาชนหรือพลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นผู้ปกครองได้ถ้าหากได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ- รัฐบาลเพื่อประชาชน หมายถึง รัฐบาลจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อความผาสุกของประชาชนและจะต้องมีการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี ฯลฯเพื่อจะได้เป็นหลักประกันว่าผู้ปกครองจะต้องปกครองเพื่อประชาชน หากผันแปรจากจุดหมายนี้ประชาชนจะได้มีโอกาสเปลี่ยนผู้ปกครองผ่านทางการเลือกตั้งประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญเพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือเป็นกติกาที่กำหนดแนวทางสำหรับการที่รัฐจะใช้อำนาจปกครองประชาชนและมีหลักการจัดระเบียบการปกครองแต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เครื่องหมายแสดงความเป็นประชาธิปไตยเพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน


การเลือกตั้ง






ประเทศประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเสนอตัวเข้ารับใช้ส่วนรวมโดยการสมัครรับเลือกตั้งและเปิดโอกาสให้พลเมืองใช้สิทธิในการที่จะเลือกบุคคลที่ตนต้องการให้เป็นผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้สิทธิเป็นปากเสียงแทนตนในสภาในระบอบประชาธิปไตยนั้น การมีสิทธิเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวยังไม่เป็นการเพียงพอต้องมีหลักประกันในการใช้สิทธิในการใช้สิทธินั้นด้วยว่าสามารถใช้ได้อย่างเสรีเต็มที่และมีโอกาสเลือกสรรตัวบุคคลที่ต้องการจริง ๆ คือ ต้องมีการลงคะแนนแบบลับ ( Secret Ballot)


การปกครองโดยเสียงข้างมาก

ก็ต้องเป็นคณะบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากเสียงข้างมากของผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา โดยการออกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่างๆต้องเป็นไปตามความเห็นขอบของเสียงข้างมากของผู้แทนในสภาในระบอบประชาธิปไตยมิได้หมายความเพียงการยึดหลักเสียงข้างมากเท่านั้นแต่จะต้องมีหลักประกันสำหรับเสียงข้างน้อยด้วย นั่นคือ สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพเป็นเสียงข้างมากจะละเมิดหรือก้าวก่ายสิทธิของเสียงข้างน้อยจึงถือเป็นการใช้ “กฎหมู่”• นอกจากนี้ความเห็นหรือทัศนะของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการรับฟังเพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายหรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างได้เผยแพร่ทัศนะหรือแนวความคิดของเขา• ทัศนะหรือความคิดเห็นที่ปราชัยต่อเสียงข้างมากหรือตกเป็นเสียงข้างน้อยนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องสูญหาไปโดยสิ้นเชิงแต่อาจจะกลับมาเป็นทัศนะที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นเสียงข้างมากในโอกาสต่อไปได้การปกครองโดยเสียงข้างมาก หมายถึง บุคคลที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐบาลนั้นถ้าหากไม่ได้รับเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรงแล้ว




วิถีชีวิตประชาธิปไตย



 ลักษณะสำคัญของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อาจจำแนกได้ดังนี้

1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงชั้นปุชนียบุคคล(แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส(แต่ก็ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส)ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้และประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล2. รู้จักการประนีประนอมยอมรับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่นิยมความรุนแรงต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อนปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็นที่ดีกว่า ปรัชญาประชาธิปไตย โดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรงเพราะถ้ามีการใช้กำลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช้เหตุผลซึ่งก็ขัดกับหลักความเชื่อขั้นมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถือว่ามนุษย์มีเหตุผล3. มีระเบียบวินัย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอและช่วยทำให้กฎหมายของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผุ้ใดมาละเมิดตามอำเภอใจแต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่ายฝืนหรือไม่ยอมรับ  การใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นย่อมทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคมประชาธิปไตยไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดยสิ้นเชิง4. มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเกิดขึ้นจากความรู้สึกของคนในสังคมว่า ตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศเป็นของคนทุกคน โดยสำนึกว่า การที่ตนได้รับการศึกษา สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะสังคมอันเป็นส่วนรวมของทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีหน้าที่ทำประโยชน์ให้เป็นการตอบแทนนอกจากนี้ลักษณะวิถีชีวิตประชาธิปไตยยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ต้องเป็นคนหนักแน่นไม่หูเบา,ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ,มีทัศนะที่ดีต่อคนอื่น,ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น,เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, มีน้ำใจเป็นนักกีฬาคือรู้แพ้รู้ชนะ เป็นต้น